22
Mar
ตุรกี
เที่ยวตุรกี เกอเรเม่ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง เมืองคัปปาโดเกีย ประเทศตุรกี ดินแดนโสถ์ถ้ำล้ำค่าและภาพเฟรสโก
เรายังคงอยู่ที่เมืองคัปปาโดเกีย ประเทศตุรกี และวันนี้เป็นบ่ายที่ปลอดโปร่ง และยังคงมีความเย็นสบายแบบนี้ เราอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่ Goreme Open Air Museum เมื่อเราเดินเข้ามา เราสามารถเห็นหิมะที่ตกคืนก่อนหน้านี้บนพื้นอยู่เป็นหย่อมๆ ก็อุณหภูมิใกล้ศูนย์น่ะค่ะ หิมะจึงยังคงขาวอยู่รอให้เราได้ถ่ายภาพ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งนี้กว้างใหญ่มากค่ะ มีลักษณะเป็นเนินหุบเขา มีถ้ำที่เรามองเห็นไกลๆ ว่าน่าเข้าไปดูว่าข้างในเป็นอะไรหนอ ประวัติศาสตร์แต่ก่อนมา ผู้คนสร้าง และอยู่ที่นี่อย่างไร.. เราจะไปย้อนรอยอดีตตั้งแต่สมัยโรมัน..ตามมาด้วยกันค่ะ
วันที่หนึ่ง - การทำลายล้างคนที่นับถือศาสนาคลิสต์
ในดินแดนแถบประเทศตุรกีตั้งแต่อดีตที่ผ่านมานั้นจนถึงศตวรรษที่ 4 ซึ่งเป็นสมัยอาณาจักรโรมัน จักรพรรดิโรมันองค์ก่อนๆ ก็ได้สั่งให้ทหารฆ่าผู้คนที่เชื่อศาสนาคริสต์ไปมากมาย ทั้งยังสั่งให้ทำลายโบสถ์วิหารต่างๆ ไปมากด้วย เหล่าบรรดาคริสเตียนก็ต้องการหาที่หลบซ่อนจากทหารโรมันเหล่านั้น และภูมิประเทศของเมืองคัปปาโดเกียก็มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะมีภูมิประเทศเป็นหุบเขามากมาย ทำให้ทหารเดาได้ยากว่าจะมีโบสถ์อยู่ในใต้พื้นดิน หรืออยู่ในถ้ำ และมาในคริสตศตวรรษที่ 4 นั่นเอง พระจักรพรรดิโรมันคอนสแตนตินมหาราช พระองค์บัญญัติให้ศาสนาคริสต์ไม่เป็นศาสนาที่ต้องห้ามอีกต่อไป และคืนอิสระให้แก่คริสตชนทั้งหลาย อีกทั้งยังเป็นพระจักรพรรดิพระองค์แรกที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย
วันที่สอง - ชาวคริสเตียนได้รับอิสรภาพ
เมื่อชาวคริสเตียนได้รับอิสรภาพแล้ว พวกเขาได้สร้างโบสถ์ขึ้นอีกมากมาย โดยที่ไม่ต้องหลบซ่อนใต้ดินอีกต่อไปในบริเวณนี้ เพราะเค้ารักที่จะอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ ดังนั้นเอง...ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งนี้ เราจะเห็นตัวอย่างของโบสถ์ที่สำคัญๆ เช่นเขาหินทั้งก้อนนี้นะคะ ก็ถูกสร้างให้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาสำหรับผู้หญิง ชั้นล่างสร้างเป็นห้องครัว ห้องสวดมนต์ และก็เป็นห้องเรียน ส่วนด้านหลังอีกเขา ก็เป็นอีกโรงเรียนสำหรับผู้ชาย
วันที่สาม - โบสถ์แอปเปิ้ล หรือ Apple Church
ในบริเวณนี้มีโบสถ์ที่น่าสนใจและน่าเยี่ยมชมหลายแห่งทีเดียวค่ะ แห่งแรกนะคะชื่อ โบสถ์แอปเปิ้ล หรือ Apple Church ทางเข้าจะเป็นเหมือนอุโมงค์เล็กๆ เมื่อเดินผ่านเข้าไปแล้วจะเห็นโบสถ์แอปเปิ้ลอยู่ทางด้านซ้ายมือ (ทางขวาก่อนเดินเลี้ยวเข้าโบสถ์ วิวนั้น ว้าววววมากค่ะ) ภายในโบสถ์นั้นมีรูปภาพเฟรสโก้ ก็คือภาพวาดบนฝาผนังซึ่งเล่าเรื่องชีวิตของพระเยซู ภายในมีเพดานโดมสองโดมด้วยกัน เริ่มแรกเป็นภาพวาดใบหน้าของพระเยซู ได้ทราบว่าชายคนนั้นคือพระเยซูเ พราะมีภาพไม้กางเขนอยู่หลังศีรษะ เพราะถ้าเราเห็นภาพวาดของผู้ชายที่มีไม้กางเขนอยู่ด้านหลังศีรษะชายคนนั้น ในสมัยนั้นจะหมายถึงพระเยซูนั่นเอง และอีกโดมเป็นภาพวาดของเทวดาหรือวัตถุทรงกลม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลแอปเปิ้ล จึงนำมาตั้งเป็นชื่อโบสถ์ตามภาพวาดที่วาดไว้ ภาพวาดบนฝาผนังในโบสถ์ในบริเวณนี้ใช้เทคนิคการวาด 2 แบบด้วยกัน แบบแรก ศิลปินจะวาดภาพลงไปบนผนังหินนั่นเลย และแบบที่สอง ศิลปินจะเอาดินเหนียวที่เปียกมาเคลือบบนผนังหินก่อน แล้วจึงวาดสีลงไปบนดินเหนียวนั้น เมื่อดินเหนียวแห้งจะกลืนกับสีลงไปบนผนังหินนั้น
วันที่สี่ - โบสถ์เซนต์บาราบาร่า St.Barbara Church
ถัดมาจากโบสถ์แอปเปิ้ล คือโบสถ์เซนต์บาราบาร่า St.Barbara Church ก็มีภาพเฟรสโก้ แต่อาจไม่ได้สวยงามเท่าในโบสถ์แอปเปิ้ล ถัดไปด้านบนนะคะ เราจะเจอโบสถ์งู หรือว่า Snake Church สร้างประมาณปี ค.ศ.1000 ในถ้ำหินทูฟา เมื่อเราเดินเข้าไปภายในจะเห็นภาพด้านซ้ายมือเป็นทหาร หรือนักบุญ 2 คนอยู่บนม้ากำลังฆ่างู ซึ่งก็คือเซนต์จอร์จ และเซนต์ธีโอดอ งูที่ถูกฆ่าเป็นสัญลักษณ์ของปีศาจร้าย และนอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภาพวาด เป็นภาพผู้ชายหนึ่งคน ข้างๆ เป็นหญิงสาวอีกหนึ่งคน เขาทั้งสองกำลังยืนถือไม้กางเขน ซึ่งผู้ชายคนนั้นคือพระจักรพรรดิคอนสแตนติน ผู้บัญญัติให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนผู้หญิงข้างๆ คือพระนางเฮเลน่า มารดาของพระจักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งมีความเชื่อว่าพระนางเฮเลน่าเป็นผู้ค้นพบไม้กางเขนอันที่พระเยซูเสียชีวิตที่เยรูซาเลม พระนางได้ฝันเห็นหลายต่อหลายครั้ง จึงไปยังเยรูซาเล็ม และได้พบภูเขาเหมือนในฝัน จึงสั่งให้ทหารขุดนำไม้กางเขนขึ้นมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นของจริง แม้ว่าไม่มีการพิสูจน์ทางโบราณคดีใดๆ เรื่องราวเล่าว่าทหารขุดเจอไม้กางเขน 3 อัน เพราะในวันนั้นที่พระเยซูถูกตรึง ก็มีชายอีกสองคนถูกตรึงเช่นกัน เค้าจึงพิสูจน์ว่าอันไหนเป็นอันจริงของพระเยซู ด้วยการเอาไปสัมผัสกับหญิงสาวที่ป่วยอยู่ ถ้าเธอหายดีจากการแตะด้วยอันไหน ก็เชื่อได้ว่าอันนั้นเป็นไม้กางเขนที่ตามหา แต่เรื่องเล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวที่เล่ากันในประเด็นนี้นะคะ...เพื่อนๆ ที่สนใจลองเสิร์ชในกูเกิ้ลได้ค่ะ
วันที่ห้า -